ผู้เขียน หัวข้อ: ชนิดของไวรัสตับอักเสบซี  (อ่าน 98 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 486
  • รับจ้างโพสเว็บ เลื่อนประกาศ โปรโมทเว็บไซต์ติดหน้าแรก
    • ดูรายละเอียด
ชนิดของไวรัสตับอักเสบซี
« เมื่อ: วันที่ 27 มีนาคม 2024, 14:38:06 น. »
ชนิดของไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซีแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ในประเทศไทยพบชนิดที่ 1 และ 3 พอๆ กัน คือชนิดละ 40% รองลงไปจะเป็นชนิดที่ 2 ส่วนชนิดที่ 4, 5 และ 6 นั้นพบน้อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการตรวจว่าไวรัสตับอักเสบซีที่เป็นนั้นเป็นชนิดอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคต่อไป เนื่องจากการรักษาไวรัสแต่ละชนิดมีความยากง่ายแตกต่างกัน


ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีและควรได้รับการทดสอบหาเชื้อ

    ผู้ที่เคยได้รับเลือดและสารเลือดก่อนปี พ.ศ.2535 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
    ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะก่อนปี พ.ศ.2535
    ผู้ที่มีการฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือด ถึงแม้ว่าทดลองใช้เพียงครั้งเดียว
    ผู้ป่วยโรคเอดส์
    ผู้ที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
    ผู้ที่มีผลเลือดการทำงานของตับพบการอักเสบ
    ผู้ที่ติดยาเสพติดใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
    ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจากการทำฟัน
    ผู้ที่สำส่อนทางเพศหรือรักร่วมเพศ
    ผู้ที่มีการสักตามตัว การใช้เข็มที่ติดเชื้อโรคสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม
    ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
    บุคลากรทางการแพทย์ที่ถูกเข็มตำจากผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง
    การใช้ของส่วนตัวที่เปื้อนเลือดร่วมกัน เช่น มีดโกน หรือกรรไกรตัดเล็บ
    ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบซี (ติดได้แต่พบน้อย)



เคล็ดไม่ลับ ดูแลตับให้แข็งแรง

ตับ เป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดภายในร่างกาย ทำหน้าที่ควบคุมสภาพร่างกายให้มีความสมดุล ช่วยขจัดสารพิษออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันเพื่อป้องกันโรคติดเชื้อ และกำจัดเชื้อโรคต่างๆ ออกจากเลือด นอกจากนี้ยังสร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบที่ทำให้เลือดแข็งตัว รวมถึงสร้างน้ำดีซึ่งช่วยดูดซึมไขมันและวิตามินชนิดละลายในน้ำมัน

     แต่หน้าที่หลักที่สำคัญที่สุดของตับก็คือ การกรองของเสียและขจัดสารพิษตกค้างจากการทานอาหารออกไปจากร่างกาย หากทานอาหารที่ไม่มีคุณประโยชน์อาจส่งผลเสียต่อตับได้ ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจการทานอาหารเพื่อบำรุงตับให้มากขึ้น รวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อให้ตับแข็งแรง

     ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม คือดัชนีมวลกายในช่วง 18.5-22.9 กก./ตร.ม. แต่ถ้าดัชนีมวลกายมากกว่า 23 กก./ตร.ม. แสดงว่ามีน้ำหนักเกินและถ้าดัชนีมวลกายมากกว่า 25 กก./ตร.ม. แสดงว่ามีภาวะอ้วน การลดน้ำหนักอย่างน้อย 5% - 10% ของน้ำหนักตั้งต้น สามารถช่วยลดการเกิดภาวะการอักเสบจากการสะสมของไขมันที่ตับได้

     ลดหรือหลีกเลี่ยงการบริโภคไขมันอิ่มตัว เช่น เนื้อสัตว์ติดมัน เนื้อสัตว์แปรรูป น้ำมันจากสัตว์ น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว กะทิ เนย รวมถึงผลิตภัณฑ์จากนมที่เป็นไขมันเต็มส่วน โดยแนะนำให้เลือกเป็นแบบพร่องมันเนยหรือขาดมันเนยแทน

     รับประทานอาหารที่มีกรดไขมันชนิด โอเมก้า-3 (Omega-3) เช่น เนื้อปลา น้ำมันเมล็ดแฟล็กซ์ น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น ซึ่งโอเมก้า-3 (Omega-3) ช่วยให้อินซูลินทำงานได้ดีขึ้น และลดการอักเสบของเซลล์ตับ

     รับประทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูง ควรรับประทานในสัดส่วนที่พอดี ได้แก่ ข้าวกล้อง ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อย รับประทานผักและผลไม้ให้เพียงพอ (400 กรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับผัก 3 ทัพพีและผลไม้ 2 จานกาแฟต่อวัน)

     ลดปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลฟรุกโตส เช่น เครื่องดื่มที่มีรสหวาน, ขนมหวาน (น้ำตาลมากเกิน 24 กรัมต่อวันหรือเท่ากับประมาณ 6 ช้อนชา) และผลไม้ในปริมาณมากกว่า 1 จานรองกาแฟต่อมื้อ, น้ำเชื่อมข้าวโพด (high fructose corn syrup) เนื่องจากน้ำตาลฟรุกโตสสามารถเปลี่ยนเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์โดยไปสะสมที่ตับได้ นอกจากนี้น้ำตาลฟรุกโตสยังทำให้เกิดการเจริญเติบโตของแบคทีเรียในลำไส้ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบของตับ

     ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารอะฟลาทอกซินปนเปื้อนสูง เช่น ถั่วลิสงตากแห้ง พริกป่น ปลาเค็ม เป็นต้น สารอะฟลาทอกซินทำให้เกิดการอักเสบของตับเรื้อรัง เกิดภาวะตับแข็ง และก่อให้เกิดมะเร็งตับได้

     การดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตับอักเสบเรื้อรัง หากดื่มแอลกอฮอล์ในผู้ชายไม่ควรดื่มเกิน 2 drinks หรือ 1 drink ในผู้หญิง เช่น เบียร์ 360 ml, ไวน์ 150 ml, เหล้า 45 ml เป็นต้น

     ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ วันละ 6-8 แก้ว หรือประมาณ 1.5-2 ลิตร ต่อวัน

     ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ช่วยลดภาวะดื้ออินซูลิน และลดระดับไขมันแอลดีแอล (LDL-C) เพิ่มระดับไขมันเอชดีแอล (HDL-C) ในเลือด

     หลีกเลี่ยงการรับประทานยา หรืออาหารเสริมประเภทน้ำมันต่างๆ เช่น น้ำมันปลา น้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส และสมุนไพรต่างๆ

     ควรได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี ว่ามีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสตับอักเสบบีหรือไม่ หากไม่มีภูมิคุ้มกันควรได้รับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี รวมถึงการตรวจติดตามค่าเอนไซม์ของตับเป็นระยะ


ชนิดของไวรัสตับอักเสบซี อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://doctorathome.com/disease-conditions/177