ผู้เขียน หัวข้อ: กระชายมหิดล: รู้จัก กระชาย สรรพคุณของกระชาย สมุนไพรไทยก้นครัว มีประโยชน์มากกว่าท  (อ่าน 100 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 486
  • รับจ้างโพสเว็บ เลื่อนประกาศ โปรโมทเว็บไซต์ติดหน้าแรก
    • ดูรายละเอียด
เรียกได้ว่าตอนนี้หลายคนน่าจะกำลังมองหา สมุนไพรต้านโรค ไว้กินสร้างภูมิคุ้มกันให้ตัวเองกันอยู่บ้างแน่ๆ เราเลยจะมาแนะนำ หนึ่งในสมุนไพรไทยที่ประโยชน์นั้นมีมากมายนับไม่ถ้วน นั้นก็คือ กระชาย นั้นเอง บอกเลยว่า สรรพคุณของกระชาย มีเยอะซะจนจำแทบไม่หมด สามารถนำมาปรุงเป็นอาหาร เพิ่มความจัดจ้าน ร้อนแรงให้อาหารไทยหลากหลายชนิด แถมยังแฝงไปด้วยประโยชน์มากมาย ทั้งใช้เป็นยาภายในและภายนอก นำมาทา มากิน มาดื่ม มาดม ก็สามารถช่วยร่างกายได้ทั้งนั้น พูดมาขนาดนี้ หลายคนคงอยากรู้แล้วละสิว่า ประโยชน์ของกระชาย มีอะไรบ้าง และนำไปประกอบอาหารอะไรได้บ้าง ถ้าอยากรู้ ตามมาดูกันเลย

 
สูตรทำ น้ำกระชาย เครื่องดื่มสมุนไพร เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ สูตรดื่มง่าย ต้านโรค !

 
กระชาย คืออะไร


     กระชาย มีสองชนิดคือ กระชายขาว และ กระชายเหลือง มีชื่อสามัญว่า Fingerroot, Chinese ginger, Chinese keys, Galingale ส่วนชื่อวิทยาศาสตร์คือ Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE) นอกจากนี้ สมุนไพรกระชาย มีชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ว่า ว่านพระอาทิตย์, กระชายดำ กะแอน ขิงทราย, ละแอน และขิงจีน เป็นต้น

 
 
ลักษณะของ กระชาย

    มีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    จัดเป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าสั้น แตกหน่อได้ และมีรากอวบ มีความยาวประมาณ 4-10 เซนติเมตร
    ผิวมีสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเนื้อในมีสีเหลืองและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
    กระชายมักพบขึ้นในป่าดิบร้อนชื้น
    ใบกระชาย เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ ลักษณะเป็นรูปรี ใบยาวประมาณ 12-50 เซนติเมตร
    ดอกกระชาย ออกดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลด โดยจะออกที่ยอดระหว่างกาบใบคู่ในสุด มีความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร
    ในส่วนของผลแก่จะแตกเป็น 3 เสี่ยง มีเมล็ดค่อนข้างใหญ่

 
 
ประโยชน์ และสรรพคุณของกระชาย


สมุนไพรกระชาย มีสรรพคุณทางยานามากมาย จนได้ชื่อในวงการแพทย์แผนไทยว่าเป็น "โสมไทย"

    บำรุงกำลังและเสริมสมรรถภาพทางเพศ บำบัดโรคนกเขาไม่ขันหรือโรคอีด
    ช่วยบำรุงร่างกาย เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงธาตุในร่างกาย
    กระชายเหลืองมีสรรพคุณช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก
    ช่วยบำรุงหัวใจ บำรุงกระดูก ช่วยทำให้กระดูกไม่เปราะบาง
    ช่วยบำรุงสมอง เพราะช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น
    ช่วยปรับสมดุลของความดันโลหิตในร่างกาย ช่วยลดความดันโลหิต แต่เมื่อความดันโลหิตต่ำก็จะช่วยทำให้ความดันเพิ่มขึ้นจนเป็นปกติ


 
ใช้กินเป็นยา หรือเป็นอาหาร

    ช่วยบำรุงหัวใจ ด้วยการใช้เหง้าและรากของกระชาย มาบดและชงกับน้ำร้อนครึ่งถ้วยชา แล้วรับประทานเพียงครั้งเดียว
    เหง้าใต้ดิน มีสรรพคุณช่วยแก้อาการปวดท้อง มวนในท้อง อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ นำมาต้มเอาน้ำดื่มแก้อาการ หรือจะนำมาใช้ปรุงเป็นอาหารไว้รับประทานก็ได้เช่นกัน
    ช่วยแก้อาการท้องร่วง ท้องเดิน ด้วยการใช้เหง้าสด 1-2 เหง้า ปิ้งไฟ คั้นให้ข้น แล้วนำมารับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนชา
    ช่วยแก้บิด โดยใช้เหง้าสดประมาณ 2 เหง้า นำมาบดจนละเอียดแล้วเติมน้ำปูนใส คั้นเอาแต่น้ำมาดื่ม
    รักษาริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้เหง้าสดประมาณ 60 กรัม นำมาผสมกับเนื้อมะขามเปียกประมาณ 60 กรัม เกลือแกง 3 ช้อนแกง และนำมาตำแล้วเคี่ยว รับประทานครั้งละครึ่งแก้วก่อนนอน แล้วรับประทานติดต่อกันประมาณ 1 เดือนจนกว่าจะหาย
    ช่วยแก้อาการปวดเมื่อย ด้วยการใช้เหง้ามาหั่นเป็นแว่นบาง แล้วนำไปตากแห้งและนำมาชงกับน้ำดื่ม
    การบริโภครากกระชายสามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้

 
ใช้ภายนอก

    ช่วยรักษาโรคน้ำกัดเท้า ช่วยแก้อาการคันหนังศีรษะจากเชื้อรา ด้วยการใช้รากกระชายทั้งเปลือก
    ช่วยรักษาฝีด้วยการใช้เหง้ากับรากมาตำให้ละเอียดแล้วนำมาทาหัวฝีที่บวม จะทำให้หายเร็วยิ่งขึ้น
    เหง้าและรากใช้เป็นยาภายนอก ช่วยรักษาขี้กลาก ขี้เกลื้อน
    เหง้ามีฤทธิ์ในการช่วยต้านเชื้อราที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคผิวหนังและโรคในช่องปาก

 
การนำกระชายมาทำอาหาร
กระชาย มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด คือ กระชายดำ กระชายแดง และกระชายเหลือง แต่คนไทยมักนิยมทานกระชายเหลืองที่สุด สามารถนำมาปรุงเป็นอาหารได้หลากหลายเมนู โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการนำมาใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในแกงป่า หรือผัดต่าง ๆ โดยส่วนที่นิยมนำมาใช้ประกอบอาหารมากที่สุดคือ รากสะสมอาหาร หรือที่เรียกว่า "นมกระชาย" โดยจะมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สามารถใช้เป็นผักจิ้มได้โดยตรง อีกทั้งมีคุณสมบัติในการช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อสัตว์เนื้อปลาได้เป็นอย่างดี

 

กระชายมหิดล: รู้จัก กระชาย สรรพคุณของกระชาย สมุนไพรไทยก้นครัว มีประโยชน์มากกว่าที่คิด! อ่านบทความเพิ่มเติมคลิ๊กที่นี่ https://mmed.com/products/